กฎและกติกา ฟีฟ่าแรงกิ้ง ที่คุณอาจไม่รู้

ฟุตบอลเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากไม่ว่าจะในหมู่วัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยทำงาน โดยการแข่งขันฟุตบอลนั้นจะประกอบไปด้วยผู้เล่น 2 ทีม ๆ ละ 11 คน รวมทั้งผู้รักษาประตู โดยผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องเตะลูกบอลให้เข้าประตูของฝั่งตรงข้าม ทีมไหนได้ประตูมากกว่าก็เป็นฝ่ายชนะไป ซึ่งด้วยรูปแบบการเล่นเป็นทีมแบบนี้จึงทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างประเทศ นำมาซึ่งการจัดอันดับอย่าง ฟีฟ่าแรงกิ้ง ( fifa ranking ) ที่คอบอลคุ้นชื่อกันดี แต่สำหรับมือใหม่คนไหนที่ยังไม่รู้ก็ไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเองตกกระแสไป เพราะวันนี้เราจะมาอธิบายคร่าว ๆ เกี่ยวกับ ฟีฟ่า ให้คุณได้รู้จักกันมากขึ้น ว่าแต่มีอะไรบ้างเรามาดูกันเลยดีกว่า
ฟีฟ่าแรงกิ้ง คืออะไร
ฟีฟ่าแรงกิ้ง ( fifa ranking ) เป็นระบบการจัดอันดับทีมฟุตบอลทีมชาติของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่า โดยอันดับดังกล่าวมาจากการคำนวณแต้มของแต่ละทีมว่ามีผลแพ้-ชนะหรือเสมอเป็นอย่างไร จากนั้นจึงนำแต้มทั้งหมดที่สะสมได้จากการแข่งขันมาจัดอันดับนั่นเอง ซึ่งที่มาของการจัดอันดับโลกฟีฟ่าถูกใช้ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2535 หรือ ค.ศ. 1992 ภายใต้ชื่อ ” โคคาโคล่าเวิลด์แรงกิง ” ที่สนับสนุนโดยโคคาโคล่า และใช้กันอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานจนถึงปัจจุบัน แต่ในระหว่างนั้นทางฟีฟ่าก็มีการปรับเปลี่ยนกฎกติกาให้เหมาะสมเข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ
แต่เมื่อวันที่ 9 เม.ย. พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือว่าฟีฟ่า ก็ได้ประกาศ ฟีฟ่าแรงกิ้ง ล่าสุดผ่านทางเว็บไซต์ฟีฟ่าว่า ตอนนี้ทีมอันดับ 1 ของโลกก็คือ เบลเยี่ยม ตามด้วยทีมอันดับ 2 กับ 3 อย่างฝรั่งเศสและบราซิล ด้านทีมไทยก็รั้งอันดับ 113 ของโลกอยู่ อีกทั้งจากเหตุการณ์โควิด-19 ทำให้ทางฟีฟ่าประกาศเลื่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2020 ในรอบคัดเลือกออกไปก่อน รวมถึงโปรแกรมการแข่งขันอื่น ๆ ก็ต้องหยุดพักเอาไว้ก่อนด้วยเช่นกัน
กฎกติกาที่สำคัญของ ฟีฟ่า
ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีการปรับเปลี่ยนกฎกิตกาใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อแก้ปัญหาและลดช่องโหว่ต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่ยุติธรรม ดังนั้น เมื่อไม่นานมานี้ทาง ฟีฟ่า แรงกิ้ง ( fifa ranking ) ก็ได้มีการกำหนดกฎกติกาขึ้นมาใหม่ 4 ข้อ และมีผลบังคับใช้ให้เป็นสากลโดยทั่วกัน ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
- แจกใบเหลือง-แดงให้โค้ช ไม่เพียงแต่นักเตะที่จะได้ใบเหลือง-แดงเท่านั้น เพราะกฎใหม่ได้มีการกำหนดให้โค้ชสามารถโดนใบเหลือง-แดงได้ หากทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งในตอนแรกก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่พอสมควร แต่เมื่อประกาศแล้วทุกคนก็ต้องปฏิบัติตามกฎที่ออกมาอยู่ดี
- แฮนด์บอลในกรอบเขตโทษ หรือ การใช้มือสัมผัสลูกบอลในการทำประตู เมื่อก่อนมักจะพิจารณาจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่องแบบนี้เป็นแค่นามธรรมที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้มากนัก ว่านักเตะในสนามที่ทำแฮนด์บอลมีความคิดอะไรอยู่ ต่อมาทางฟีฟ่าจึงได้ปรับเปลี่ยนกฎใหม่เป็น หากลูกบอลโดนมือก็เท่ากับว่าไม่ได้ประตู และจะไม่พิจารณาจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจทั้งสิ้น
- กฎการเปลี่ยนตัวใหม่ เมื่อก่อนหากจะทำการเปลี่ยนตัวจะต้องมาสัมผัสมือนักเตะอีกคนถึงจะลงสนามได้ แต่รูปแบบเก่านี้มีช่องโหว่ที่นักเตะบางคนชอบใช้ในการถ่วงเวลา เช่น การแกล้งเจ็บเพื่อให้คนมาหามออกไป การเดินออกแบบเชื่องช้าที่จะกินเวลาในการแข่งขัน หรือการทำเป็นไม่เห็นป้ายเป็นต้น ซึ่งทางฟีฟ่าได้เล็งเห็นตรงจุดนี้ก็เลยคิดกฎใหม่ขึ้นมาคือ นักเตะคนไหนที่อยากเปลี่ยนตัว ก็ให้นักเตะออกจากสนามตรงจุดนั้นได้เลย ไม่จำเป็นต้องมาแตะมือ เพื่อทำการเปลี่ยนตัวกับอีกคนที่จะเข้ามาเล่นแทน โดยวิธีนี้จะช่วยไม่ให้การแข่งขันยืดเยื้ออกไปนั่นเอง
- ห้ามยืนในกำแพงฝั่งคู่ต่อสู้ เนื่องจากกฎเก่าเมื่อก่อนทีมบุกชอบมีผู้เล่นในทีมคนอื่น ๆ มายืนในเขตกำแพงของอีกฝั่งเพื่อหวังทำประตู ซึ่งวิธีแบบนี้จะทำให้เกิดการยื้อเวลาระหว่างนักเตะทั้งสองทีม และอาจทำให้เกิดลูกฟรีคิกที่ยืดเวลาในการแข่งขันออกไปได้อีก ทำให้มีการตั้งกฎกติกาขึ้นมาใหม่ว่า หากทีมบุกฝั่งไหนได้ฟรีคิกจะไม่มีผู้เล่นคนอื่น ๆ เข้าไปยืนในเขตกำแพงของอีกฝั่งแล้ว ดังนั้น วิธีนี้จึงทำให้ช่วยลดปัญหาการกระทบกระทั่งของนักเตะทั้งสองทีมหมดไป และยังช่วยเพิ่มสมาธิให้กับนักเตะทีมบุกและทีมป้องกันได้อีกด้วย
วิธีคำนวณคะแนน ฟีฟ่าแรงกิ้ง ทำกันอย่างไร
สำหรับวิธีการคำนวณคะแนน ฟีฟ่า แรงกิ้ง ( fifa ranking ) คอบอลหลายคนคงสงสัยกันใช่ไหมว่า มีวิธีการคำนวณเพื่อจัดอันดับกันอย่างไร ซึ่งทางเราก็ได้รวบรวมรายละเอียดมาไว้ที่นี่แล้ว เรามาดูกันเลย
- ขั้นตอนที่ 1
สมมุติให้คุณหา 2 ทีมที่จะดวงแข้งกันยกตัวอย่างเช่น ทีม UAE ( สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ) กับ ทีมชาติบาร์เรน จากนั้นนำคะแนนของทั้ง 2 ทีมมาคิดซึ่งคะแนนสามารถดูได้จากเว็บ www.fifa.com ในช่อง Total Point ซึ่งในตอนนี้ UAE มีคะแนนเป็น 1334 คะแนน ส่วนบาร์เรนมีคะแนนเป็น 1225 คะแนน โดยเอา 1334–1225 = 109 - ขั้นตอนที่ 2
เอา 109 มาใส่เครื่องหมายติดลบเป็น -109 เนื่องจากสูตรคือ -dr ( dr คือผลลบของขั้นตอนที่1 ) จากนั้นนำไปหารกับ 600 จะอยู่ในรูป -109/600 = -0.18 นำค่าที่ได้ไปยกกำลัง 10 จะได้เท่ากับ -3.57 - ขั้นตอนที่ 3
นำ 1 มาหารกับ ( 0.60+1 ) จะอยู่ในรูป ( 0.60+1 )/1 = 1.6 จากนั้นนำค่าที่ได้ไปเข้าเกณฑ์คะแนนแพ้-ชนะ และเสมอก่อน ซึ่งรายละเอียดก็มีดังนี้
– หากชนะให้นำ 1-1.6 = -0.6
– หากแพ้ให้นำ 0.5-1.6 = -1.1
– หากเสมอให้นำ 0-1.6 = -1.6
สมมุติในที่นี่ให้ทีม UAE ชนะ ทีมบาร์เรน ไป 2-0 แล้วจะนำทีมที่ชนะไปคิดในขั้นตอนต่อไป - ขั้นตอนที่ 4
ในขั้นตอนนี้คุณจะต้องรู้เกณฑ์การให้คะแนนของการแข่งขันรายการต่าง ๆ ซึ่งการพบกันของทีม UAE กับ บาร์เรน เป็นการแข่งขันรายการระดับทวีปให้คุณนำผล -0.6 ที่ UAE ชนะมาคูณกับ 35 จะได้ -21 - ขั้นตอนที่ 5
นำคะแนนของ UAE ตั้งแต่แรกคือ 1334 มาบวกกับ -21 จะได้ผลลัพธ์เป็น 1313 นั่นเอง
และนี่ก็เป็นวิธีการคำนวณคิดคะแนน ฟีฟ่า แรงกิ้ง ( fifa ranking ) กันคร่าว ๆ อาจจะดูซับซ้อนไปบ้าง แต่ถ้าหากคุณใช้เป็นก็จะมีประโยชน์กับคุณมาก เพราะจะทำให้รู้คะแนนใหม่หลังจากแข่งเสร็จโดยที่ไม่จำเป็นต้องรอเว็บไซต์หลักอัปเดตเลย
ข้อดีของการจัดอันดับ ฟีฟ่าแรงกิ้ง ที่คุณควรรู้
การจัด ฟีฟ่า แรงกิ้ง ( fifa ranking ) หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีข้อดีอยู่ด้วย หากคนไหนที่ยังไม่รู้เราจะบอกกล่าวข้อดีต่อไปนี้ให้คุณรู้ ซึ่งรายละเอียดก็มีดังนี้
- ช่วยสนับสนุนการแข่งขันรูปแบบ Nation Legaue ยกตัวอย่างเช่น Uefa Nation Legaue เป็นต้น
- ช่วยลดการอุ่นเครื่อง ที่ไม่ทำให้อันดับ ฟีฟ่า แรงกิ้ง พุ่งเกินไป
- มีการยกเลิกการคิดย้อนหลัง 4 ปี แล้วเปลี่ยนมาใช้การคิดแบบใหม่ที่ไม่ทำให้เกิดการหักลบกัน
- ช่วยให้คุณสามารถรู้อันดับได้เองจากการคิดคำนวณโดยไม่ต้องรอเว็บประกาศ
และนี่ก็เป็นข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับ ฟีฟ่า แรงกิ้ง ( fifa ranking ) ที่เราได้รวยรวมมาฝากทุกคนกันในครั้งนี้ หวังว่าจะทำให้คุณนั้นเข้าใจและสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับฟีฟ่าแรงกิ้งได้อย่างถูกต้อง ซึ่งนอกจากคุณจะได้รู้วิธีคิดและรู้ข้อมูลของทีมฟุตบอลแต่ละประเทศแล้ว คุณอาจจะได้รับประสบการณ์หรือมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับวงการฟุตบอล ที่อาจทำให้คุณเป็นหนึ่งในเซียนบอลที่วิเคราะห์เกมได้อย่างเฉียบขาดเลยก็ได้